สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 ส.ค.59

ข่าวสัปดาห์ 15 - 21 ส.ค. 59

 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

     ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.66 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
     ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.72 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24 
     ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 253.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,698 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 261.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,049 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 351.00 บาท

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

     กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2559/60 ว่ามี 1,016.93 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 958.64 ล้านตันในปี 2558/59 ร้อยละ 6.08 โดยสหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ และแคนาดา มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 133.65 ล้านตัน ลดลงจาก 136.68 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 2.22 โดยบราซิล ปารากวัย และเม็กซิโก ส่งออกลดลง ประกอบกับ ผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ เวียดนาม ไต้หวัน แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา และบราซิล มีการนำเข้าลดลง (ตารางแนบท้าย)
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2559 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 327.64 เซนต์ (4,490 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 323.00 เซนต์ (4,458 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 32.00 บาท

บัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โลก

(คาดคะเนเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2559)

หน่วยล้านตัน

 

รายการ

ปี 2559/60

ปี 2558/59

ผลต่างร้อยละ

สต็อกต้นปี

209.34

208.26

0.52

ผลผลิต

1,028.40

959.73

7.16

นำเข้า

133.65

136.68

-2.22

ส่งออก

133.65

136.68

-2.22

ใช้ในประเทศ

1,016.93

958.64

6.08

สต็อกปลายปี

220.81

209.34

5.48

ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐ ฯ

15-21 สิงหาคม 2559

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

     ราคายางมีแนวโนมทรงตัวหรือเปลี่ยนแปลงในชวงแคบ ๆ โดยมีปจจัยบวกจากราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และเงินเยนที่ออนคาลง ประกอบกับนักลงทุนขานรับขอมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกรงของสหรัฐฯ และการที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ยังไมมีแนวโนมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะนี้ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่ปิดตลาดปรับตัวสูงขึ้น และความต้องการซื้อของผู้ประกอบการในประเทศเพื่อส่งมอบ รวมทั้งอุปทานในตลาดยังมีน้อย จากภาวะฝนตก เป็นปัจจัยหนุนราคายางได้ในระดับหนึ่ง

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.13 บาท ลดลงจาก 53.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.20  บาท หรือลดลงร้อยละ 4.13 
     2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.63 บาท ลดลงจาก 52.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.20 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.16 
     3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.13 บาท ลดลงจาก 52.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 2.20 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.20 
     4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.94 บาท ลดลงจาก 21.96 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.64 
     5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.38 บาท ลดลงจาก 19.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.69 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.62 
     6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.24 บาท ลดลงจาก 47.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.86 บาท หรือลดลงร้อยละ 3.95

ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนกันยายน 2559
ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.21 บาท เพิ่มขึ้นจาก 60.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.01 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.06 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.01 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.95 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.49 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.46 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.01 
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.60 บาท ลดลงจาก 37.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.53 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.43
ท่าเรือสงขลา 
     1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.96 บาท เพิ่มขึ้นจาก 59.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.01 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02 
     2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.81 บาท เพิ่มขึ้นจาก 58.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.01 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.02
     3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.70 บาท เพิ่มขึ้นจาก 45.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.46 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.02 
     4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.35 บาท ลดลงจาก 36.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.53 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.44

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ

     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ และโตเกียวปรับตัวในช่วงแคบๆ โดยตลาดโตเกียวปรับลดลง ตามความวิตกกังวลของนักลงทุน เรื่องยอดเกินดุลการคาในเดือนกรกฎาคม 5.135 แสนลานเยน ซึ่งเปนการเกินดุลการคาติดตอกัน 2 เดือน เนื่องจาก การส่งออกและนําเขาลดลงร้อยละ 14.0 และร้อยละ 24.7 ขณะที่ตลาดสิงคโปร์ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจาก นักลงทุนตอบรับข้อมูลของมูดี้ส อินเวสเตอร เซอรวิส ที่ปรับเพิ่มคาดการณการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีน หลังจากมีมาตรการทางการกระตุนเศรษฐกิจ โดยคาดว่า ปีนี้เศรษฐกิจขยายตัว
รอยละ 6.6 และรอยละ 6.3 ในปหนา 
     สมาคมประเทศผูผลิตยางธรรมชาติ (ANRCP) รายงานตัวเลขการส่งออกยางธรรมชาติของประเทศสมาชิกตั้งแตเดือนมกราคม - กรกฎาคม มีปริมาณ 5.192 ลานตัน เพิ่มขึ้นจากชวงเดียวกันของปที่ผ่านมารอยละ 4.5 โดยปริมาณการสงออกของไทย อินโดนีเซียและเวียดนาม เพิ่มขึ้นรอยละ 12.2 รอยละ 1.3 และรอยละ 4.2 ขณะที่มาเลเซียและกัมพูชา ลดลงรอยละ 5.6 และรอยละ 2.3 โดยคาดว่า ปี 2559 ปริมาณการสงออกรวมประมาณ 8.981 ลานตัน ลดลงจากชวงเดียวกันของปีที่ผ่านมารอยละ 0.8

ราคายางแผ่นรมควันชั้น
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 169.00 เซนต์สหรัฐฯ (58.10 บาท) เพิ่มขึ้นจาก 163.75 เซนต์สหรัฐฯ (56.00 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 5.25 เซนต์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.21 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.70 เยน (61.34 บาท) ลดลงจาก 181.00 เยน (60.91 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 0.30 เยน หรือลดลงร้อยละ 0.17

15 - 21 ส.ค. 2559
สุกร

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
     สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดสอดรับและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 70.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.98 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 72.88 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 69.42 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 2,300 บาท (บวกลบ 70 บาท ) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ  
     ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท ทรงตัวสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
ไก่เนื้อ
 

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
     ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคที่มีมากขึ้น ขณะที่ปริมาณผลผลิตไก่เนื้ออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 38.12 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.79 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 38.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 38.30 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.61 บาท และภาคเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 16.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 18.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 40.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.50 และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 54.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.56

 

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

     สถานการณ์ไข่ไก่สัปดาห์นี้ค่อนข้างคึกคักและคล่องตัว ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแปรปรวน ส่งผลให้ผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 317 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 309 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 327 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 292 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 324 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 318 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 361 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
     ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 362 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 364 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 372 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 3561 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 381 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
     ราคาขายส่งไข่เป็ดในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 400 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
  

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
    ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.82 บาท สูงขึ้นกิโลกรัมละ 100.45 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 109.98 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.01 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 97.14 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 92.88 บาท

กระบือ

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
    ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 81.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.13 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.37 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.73 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.44 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 

ข่าวรายสัปดาห์ 15-21 ส.ค.59

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
     ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงาน

ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
     ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
     ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ

ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก) 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,024.47 เซนต์ (12.79 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,016.60 เซนต์ (13.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.77 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 337.67 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.75 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 336.02 ดอลลาร์สหรัฐฯ (11.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49 
     ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.53 เซนต์ (25.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 31.44 เซนต์ (24.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.65


หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 15 - 21 ส.ค. 2559

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,752 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,743 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.55
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,397 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 933 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี